Kefir คีเฟอร์ หรือ คีเฟียร์ เป็นคำที่มาจากภาษาตุรกีหมายถึง “ทำให้รู้สึกดี” มีต้นกำเนิดจากที่ราบในแถบเทือกเขาคอเคซัส (Caucasus) กว่า 1,500 ปี คนไทยจะรู้จักในชื่อ “นมบัวหิมะ หรือโยเกิร์ตบัวหิมะ (ทิเบต)”
ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ 2 ชนิด ได้แก่ ยีสต์และแบคทีเรียแลคติค (Lactic Acid Bacteria) ที่อยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน (Symbiosis) และยึดเกาะกันด้วยสารที่มีลักษณะเป็นเมือกเหนียวจนเกิดการก่อตัวขึ้นมาเป็นรูปร่างคล้ายดอกกะหล่ำ มีสีขาวจนถึงเหลืองอ่อน ขนาดเท่าผลวอลนัทและเล็กได้จนเท่ากับเมล็ดข้าว ซึ่งจะสร้างสารอาหารที่มีประโยชน์เป็นส่วนผสมในนมคีเฟอร์
นมคีเฟอร์ เกิดจาก การนำเม็ดคีเฟอร์ (Kefir Grain) ไปเลี้ยงในน้ำนม ซึ่งอาจเป็นนมวัว นมแพะ นมแกะ หรือนมอูฐ เพราะมีสารอาหารที่เหมาะสมทำให้เม็ดคีเฟอร์เจริญได้ดี ซึ่งทำให้ได้นมที่มีลักษณะข้นเป็นครีมคล้ายโยเกิร์ต เนื้อละเอียด มีความสด รสเปรี้ยว กลิ่นคล้ายยีสต์ นมคีเฟอร์จะไม่บูดเพราะมีกรดจากแบคทีเรียในคีเฟอร์ ที่จะยับยั้งการทำงานของแบคทีเรียที่จะทำให้นมบูดภายหลังกระบวนการหมักนมคีเฟอร์ และเนื่องจากที่คีเฟอร์มีรสเปรี้ยวและมีแอลกอฮอล์อยู่เล็กน้อย จึงทำให้รู้สึกสดชื่นเมื่อได้ดื่ม
ปัจจุบันการผลิตและการบริโภคคีเฟอร์เป็นที่นิยม อย่างมากในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก เยอรมนีและ นอร์เวย์ อีกทั้งมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องไปยังประเทศในทวีปแอฟริกา ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยเฉพาะชาวตะวันออกกลาง ปัจจุบันจัดให้คีเฟอร์เป็นยาอายุวัฒนะอย่างหนึ่ง ถือว่าเป็นยาจากธรรมชาติที่ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ต่อร่างกาย
Kefir By Apitara (สูตรพิเศษจากยุโรปตะวันออก)
เป็นการนำเม็ดคีเฟอร์ จากประเทศตุรกี และสหรัฐอเมริกา มาเลี้ยงในน้ำนมสด ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งที่ขึ้นชื่อว่าเป็นคีเฟอร์ที่มีจุลินทรีย์ดีที่อุดมสมบูรณ์ มีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า 40 ชนิด มีรสชาติกลมกล่อม และรสเปรี้ยวเล็กน้อย รับประทานง่าย เต็มไปด้วยสารที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี แคโรทีนอยด์ ไนอาซิน (วิตามิน PP) แคลเซียม เหล็ก และกรดโฟลิก เป็นต้น
-
ปรับสมดุลย์จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ คีเฟอร์จะช่วยเพิ่มจำนวนแบคทีเรียชนิดดี ทำให้ลำไส้แข็งแรง และช่วยเพิ่มการทำงานของระบบย่อยอาหาร การดูดซึมได้ดียิ่งขึ้น ลดอาการท้องอืด ท้องเสีย กรดไหลย้อนได้
-
เสริมภูมิต้านทานให้ร่างกาย มีจุลินทรีย์และยีสต์ สายพันธุ์
โพรไบโอติกส์ ทำให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น ดังนั้นเมื่อสุขภาพลำไส้ดี จะส่งผลต่อภูมิต้านทานของร่างกายดีไปด้วย
-
ลดอาการภูมิแพ้ โดยจะช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย และสามารถปรับการทำงานของเซลล์ที่ทำให้เกิดการแพ้ต่ออาหารหลาย ๆ ชนิดให้อยู่ในภาวะสมดุล
-
ช่วยลดคลอเลสเตอรอล จุลินทรีย์ในคีเฟอร์จะช่วยยับยั้งการดูดซึมไขมันจากอาหารเข้าสู่ร่างกาย โดยการจับคลอเลสเตอรอลและขับออกนอกร่างกาย
-
ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง เนื่องจากในคีเฟอร์มีกรดโฟลิก (Folic acid) จํานวนมาก ทำให้สุขภาพดี จากการมีเลือดไปหล่อเลี้ยงเพียงพอ
- ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระช่วยในการชะลอวัยและลดการเกิดริ้วรอย- ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง นอกจากเป็นตัวช่วยสำคัญในการเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายแล้ว
การศึกษาพบว่า คีเฟอร์มีส่วนช่วยยับยั้งการเติบโตของเนื้องอก และการแพร่ขยายตัวของเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย
- สำหรับหญิงตั้งครรภ์ แพทย์หลายคนแนะนำให้ทาน เนื่องจากจะช่วยลดอาการหงุดหงิดง่าย บรรเทาอาการท้องผูก และเพิ่มแร่ธาตุที่จำเป็น ปรับการทำงานของไตให้เป็นปกติได้ด้วย จะมีส่วนประกอบของเอทิลแอลกอฮอล์ แต่ก็มีอยู่ในปริมาณที่เล็กน้อยมากจนไม่สามารถทำอันตรายต่อร่างกายได้
คีเฟอร์ยังถูกนำมาเป็นยาใช้ภายนอก ช่วยบรรเทาอาการแสบ ของแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ตามร่างกาย หรือช่วยบำรุงผิวพรรณ มาส์กหน้า นวดหน้า ลดอาการ ฝ้า กระ กลาก เกลื้อนได้ แต่ค่อนข้างใช้เวลาและทำอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสามารถนำมาหมักผมเพื่อบรรเทาผมแตกปลายผมเสียได้
- ดื่มเหมือนนม หรือรับประทานเหมือนโยเกิร์ต
- เพิ่มรสชาติโดยการรับประทานกับซีเรียล ธัญพืช หรือผลไม้อบแห้ง นอกจากเพิ่มความอร่อย ยังเพิ่มคุณค่าทางอาหารอีกด้วย
- ปั่นกับผักหรือผลไม้ที่ชอบ เป็นเมนูสมูทตี้ที่ถูกใจ หรือทานกับสลัด เพิ่มประโยชน์ให้กับมื้อนั้นของคุณ
-
สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ให้รับประทานแทนมื้อเย็น หรือเมื่อมีอาการหิวในตอนกลางคืน เพราะคีเฟอร์มีแคลอรี่ต่ำมาก และแคลเซียมที่อยู่ในคีเฟอร์จะถูกร่างกายดูดซึมได้ดีกว่าในเวลากลางคืน- สำหรับผู้ที่มีภาวะไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกายและระบบทางเดินอาหาร แนะนำให้รับประทานช่วงที่ท้องว่าง จะทำให้ย่อยง่ายและเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของลำไส้
ข้อควรระวัง- ช่วงเริ่มรับประทาน อาจเริ่มจากปริมาณน้อย เพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัว หากรับประทานปริมาณมากอาจจะมีอาการปั่นป่วน ซึ่งร่างกายของแต่ละคน จะใช้เวลาปรับตัวไม่เท่ากัน
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือมีอาการต่อไปนี้ ควรระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงในการบริโภค ได้แก่ โรคระบบทางเดินอาหาร (Dysbiosis ในลำไส้โรคกระเพาะเรื้อรังและลำไส้ใหญ่อักเสบ), โรคตับ (โดยเฉพาะผู้ชาย), ผู้ที่มีประวัติแพ้อาหาร แลคโตส หรือผลิตภัณฑ์นม, โรคอ้วน, โรคหลอดเลือดและหัวใจ, โรคกระดูกอ่อนโรคโลหิตจาง, โรคทางระบบประสาทอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง
- ไม่ควรเดิมเกินวันละ 0.5 ลิตร (2 แก้ว) / ต่อวัน